welcome

คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

 ครั้งที่ 1
   วันพุธ ที่ 7 พฤศจิกายน 2555
    เวลาเรียน  8.30 - 12.20 น
 Mathematic Experiences Management for Early Childhood

             การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย   

* ข้อตกลง
1. สามารถเข้าเรียนช้าได้ถึงเวลา 09.00 น. เท่านั้น
2. ต้องเข้ากิจกรรมของทางคณะศึกษาศาสตร์ตลอด มิเช่นนั้นจะไม่มีโอกาสในการฝึกสอน
3. ไม่ใช่ชุดพละในวันที่นักศึกษาไม่มีการเรียนของในวันนั้นๆ
4. นักศึกษาจะต้องสมุดในการจดบันทึกทุกคน

 ชี้แจ้งการเรียน
                 ท่านอาจารย์จินตนาพูดถึงเรื่องการทำ Blogger ว่า เชคนี้จะตรวจงานทุกวันศุกร์และได้พูดถึงแนวทางใน  กาำำรทำ Blogger ที่ดีว่าควรปฏิบัติเช่นใด เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษา ในการประเมินนักศึกษาท่านอาจารย์จินตนาจะดูจากกการมีส่วนร่วมภายในชั้นเรียน และการผลิตชิ้นงานออกมา ต่อจากนั้น ท่านอาจารย์จินตนาได้ตั้งหัวข้อให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ออกมาในรูปแแบบของประโยคโดยการเขียนลงในกระดาษที่ท่านแจก โดยใช้หัวข้อที่กล่าว "ในความคิดของนักศึกษาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย นักศึกษาเข้าใจว่าอย่างไร" 

กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม
1. กิจกรรมเสรี ( มุม )
2. กิจกรรมเกมการศึกษา
3. กิจกรรมศิลปะ
4. กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
5. กิจกรรมการเสริมประสบการณ์ ( วงกลม )
6. กิจกรรมกลางแจ้ง


สรุป ในเรื่องของการจัดประสบการณ์ มีปรากฎดังต่อไปนี้
1. วางแผน
2. วัตถุประสงค์
3. ขั้นตอน
4. ประเมินตามวุตถุประสงค์

ค้นคว้าเพิ่มเติม

      ศูนย์ฯ ใช้กิจกรรม 6 หลักในการพัฒนาเด็กให้พร้อมทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา  โดยจัดกิจกรรมให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น ร้องเพลง ฟังนิทาน ฯลฯ ยึดพัฒนาการเด็กเป็นสำคัญ
กิจกรรม 6 หลัก มีดังต่อไปนี้
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  
กิจกรรม เคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกกำลังกาย และเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างอิสระ โดยใช้เสียงเพลง คำคล้องจอง เสียงตบมือ เคาะไม้ ฯลฯ  ประกอบการเคลื่อนไหว ทั้งนี้เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก-ใหญ่  ฝึกความจำและความสามารถในการปฏิบัติตามคำสั่ง ความมีระเบียบวินัย  ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตาม ส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์  พัฒนาสังคม  อารมณ์และจิตใจ
2. กิจกรรมในวงกลม  หรือ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ 
กิจกรรมในวงกลม  หรือ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่นำเด็กมารวมกัน เพื่อทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิและความตั้งใจ  เป็น กิจกรรมสงบ เช่นการฟังนิทาน การฟังเรื่องต่างๆ ที่สัมพันธ์กับเนื้อหา หน่วยการสอน เพื่อพัฒนาทักษะทางสติปัญญาให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเนื้อหาของ หน่วยที่สอน  เด็กจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับครูกับเพื่อน  เกิดความรู้สึกอบอุ่น  ฝึกการกล้าแสดงออก การมีระเบียบวินัย   การ รอคอย และการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม และเนื่องจากเด็กเล็กยังไม่มีความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม ครูจึงจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ในรูปแบบต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรมให้เด็กได้เรียนรู้ เช่น การสาธิต การทดลอง หรือ การประกอบอาหาร เป็นต้น
3. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
กิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กผ่อนคลายและเพลิดเพลิน เด็กได้แสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการโดยใช้ศิลปะ เช่น การขีดเขียน การปั้น การฉีก-ปะ การตัดปะ การพิมพ์ภาพจากวัสดุต่างๆ การร้อย การเล่นสีน้ำ เป็นต้น ฝึกให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต  และช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมือ  การประสานสัมพันธ์กันระหว่างมือและตา
4. กิจกรรมกลางแจ้ง 
กิจกรรมกลางแจ้งเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เคลื่อนไหวอย่างอิสระนอกห้องเรียน ช่วยให้เด็กมีร่างกายที่แข็งแรงและจิตใจแจ่มใส   มีสุขภาพดี  พัฒนากล้ามเนื้อเล็ก-ใหญ่ เรียนรู้ทักษะทางสังคม  รู้กฎ กติกา เล่นด้วยกัน แบ่งกันเล่น คลายการยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง
5. กิจกรรมเสรี/ เล่นตามมุม
กิจกรรม เสรี หรือ การเล่นตามมุม เป็นการจัดมุมในห้องเรียนให้เด็ก ได้เล่น ได้คิดสร้างสรรค์ตามสภาพแวดล้อมของเด็ก การเล่นตามมุมทำให้ครู เด็กๆ และเพื่อนๆ สามารถสร้างความคุ้นเคยกัน พัฒนาการพูดและการฟัง  ช่วยทำให้เด็กปรับตัวได้เร็วขึ้น เด็กเกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม มีโอกาสได้ตอบสนองความอยากรู้อยากเห็น  การ เล่นตามมุมยังช่วยฝึกเด็กให้มีระเบียบวินัย รู้จักรอคอย มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และให้อภัย และมีความรับผิดชอบในการทำงานประเภทของมุมต่างๆ ที่จัดในห้องเรียน เช่น  มุมบ้าน  มุมไม้บล็อค  มุมหนังสือ และมุมการศึกษา เป็นต้น
6. เกมการศึกษา
เป็นเกมที่ช่วยพัฒนาสติปัญญา มีกฎกติกาง่ายๆ  เด็ก สามารถเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่ม กิจกรรมนี้จะช่วยฝึกเด็กให้รู้จักสังเกต คิดหาเหตุผล และเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ สี รูปร่าง จำนวน ประเภท เช่น เกมจับคู่ แยกประเภท จัดหมวดหมู่  ภาพตัดต่อ ฯลฯ ส่งเสริมกระบวนการการทำงานและการอยู่ร่วมกันกับเพื่อน ฝึกประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
แหล่งอ้างอิง : http://www.theeraporn.com